ตามข่าววัคซีนโควิด-19

ปัญหาเรื่องวัคซีนโควิด เป็นเรื่องที่ได้ยินติดต่อกัน ทำให้ประชาชนหลายประเทศไม่กล้าฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นผลจากรัฐบาล เช่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ ฮ่องกง ฯ สำหรับออสเตรเลียจะเริ่มฉีดวัคซีนในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นของAstrazeneca ส่วนสำหรับสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร มีการฉีดวัคซีนไปแล้วเกือบ 14 ล้านโดส แต่ก็ ยืนยันแล้วว่าวัคซีนอาจจะไม่สามารถปกป้องการติดเชื้อ 100 % และยังไม่มีข้อมูลในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือกำลังรับการรักษาเรื้อรังที่ยับยั้งหรือป้องกันการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน จึงควรที่จะป้องกันตนเองได้ด้วยการปิดหน้ากาก และมีระยะห่างระหว่างกันในสังคม การล้างมือบ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน

สำหรับข่าวการเสียชีวิตของพยาบาลโปรตุเกส ที่มีข่าวเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนของ Pfizer นั้น เมื่อวันที่ 5  มกราคม 2564 มีการรายงานของกระทรวงยุติธรรมโปรตุเกส ผลการชันสูตรศพไม่พบสาเหตุการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนที่เธอรับ แต่ไม่ได้แถลงสาเหตุการเสียชีวิตที่ชัดเจน แจ้งเพียงว่าเป็นความลับของกระบวนการ

และการเสียชีวิตของสูติแพทย์ Gregory Michael วัย 56 ปี ที่ทำงานที่ Miami พบว่าเสียชีวิตจากอาการเลือดออกในสมอง หลังรับวัคซีนของ Pfizer 16 วัน และทำให้เสียชีวิตจากอาการของเกล็ดเลือดลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว (Acute Immune Thrombocytopenia) แต่ผลการชันสูตรยังกลับมาไม่สมบูรณ์

วัคซีนจากประเทศจีน Sinovac ที่จะเข้าไทย 2 ล้านโดส เป็นวัคซีนชนิดเนื้อตายแบบดั้งเดิม มีความปลอดภัยสูง หลังฉีดไม่พบผลข้างเคียงรุนแรง และคาดว่าจะได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศจีนเร็ว ๆ นี้ เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน ที่ทางองค์การเภสัชกรรมจัดซื้อ และจำหน่าย ขึ้นทะเบียนอย. ภายใน 14 กุมภาพันธ์นี้ ก่อนจะทยอยฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์ และกลุ่มเสี่ยง 5 จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยการจัดส่งจะมาในวันที่ 28กุมภาพันธ์ 200,000 โดส มีนาคม 800,000 โดส เมษายน 1,000,000 โดส หลังจากนั้นในเดือนพฤษภาคมจะมีวัคซีนจาก Astrazeneca มาอีก 26 ล้านโดส เพื่อกระจายให้ประชาชนต่อไป และจะมีอีก 36 ล้านโดสจาก Astrazeneca อีกต่อไป โดยทั้งหมดคาดว่าจะครอบคลุมให้กับคนทั้งสิ้น30 ล้านคน

วัคซีน Pfizer มีการรายงานว่าจะมีการปรับปรุงประสิทธิภาพ ทำให้มีผลต่อการส่งมอบวัคซีนชั่วคราว โดยจะลดลงช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ โดยจะกระทบอย่างมากในยุโรป และจะกลับมาส่งได้ปกติในปลายเดือนกุมภาพันธ์ และจะเพิ่มกำลังผลิตวัคซีนได้ 2,000 ล้านโดสในปีนี้

ในสหราชอาณาจักร แนะนำกลุ่มคนที่ยังไม่ควรฉีดวัคซีนของ Pfizer คือผู้ที่มีภาวะภูมิแพ้ ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือผู้ที่มีโรคเลือดออกที่ห้ามการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งผู้ที่ได้รับการบำบัดด้วยภูมิคุ้มกัน (เพราะทำให้การตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนลดลง) ไม่ควรใช้ในหญิงมีครรภ์ (อาจมีอันตรายต่อทั้งแม่และลูก) ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี (เนื่องจากไม่เคยมีการทดลองในกลุ่มตัวอย่าง) ผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วไม่ควรให้นมบุตร และหลังรับวัคซีนไม่ควรขับขี่ หรือเครื่องจักรชั่วคราว

อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย คือ ปวดบริเวณที่ฉีด เมื่อยล้า หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และเป็นไข้ อาการเหล่านี้จะหายไปไม่กี่วันหลังฉีดวัคซีน อาจพบการอัมพาตที่ใบหน้าส่วนปลายเฉียบพลัน สูญเสียการรับรสชาติ รับกลิ่น เจ็บคอ ท้องเสีย หรืออาเจียน ผื่นคันที่ผิวหนัง หากพบอาการหายใจถี่ บวมที่ใบหน้า หรือลิ้น ต้องติดต่อแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ทันที หรือไปที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาล เพราะอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิต

ในนอร์เวย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขนอร์เวย์เตือนว่า วัคซีนนี้อาจจะเสี่ยงเกินไปในผู้ที่มีอายุมาก และเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย และมีคนเสียชีวิตไปแล้ว23 ราย หลังจากรับวัคซีนในครั้งแรกไม่นาน และ 13 รายได้รับการชันสูตรแล้ว พบว่าอาจจะมีปฏิกิริยาตอบสนองจากผู้สูงวัยที่อ่อนแอ  อันเป็นผลร้ายแรงได้ จึงควนให้วัคซีนกับคนที่มีสุขภาพดีก่อน โดยไม่มีโรคประจำตัว

ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์บราซิล มีลักษณะคล้ายที่พบในแอฟริกาใต้ และอังกฤษ ทำให้มีการระงับการเดินทางจากบราซิล และสหราชอาณาจักรในหลายประเทศ รวมถึงโปรตุเกสที่มีสายการบินที่เชื่อมกับบราซิล

ข้อมูลจาก : นพ.ธิติวัฒน์ ประชาธำรงพิวัฒน์

(https://minsenconcept.com/ตามข่าววัคซีน-covid/)

Cover designed by Freepik