ความปลอดภัยในการบินหลังโควิด-19

การพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการเดินทางบนเครื่องบินอย่างปลอดภัย ซึ่งหลังเหตุการณ์ 911 ก็มีการพัฒนาระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันการก่อวินาศกรรม การควบคุมวัสดุอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่จะนำขึ้นเครื่องบิน การกันน้ำ และน้ำยาต่าง ๆ แต่ในระหว่างที่มีการระบาดของ COVID -19 อีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนเป็นห่วง เช่นเดียวกับการเดินทางบนรถโดยสารสาธารณะ นอกเหนือจากการเร่งพัฒนาวัคซีน ก็จะเป็นเรื่องของการใช้ยาฆ่าเชื้อที่มีผลในการทำลายเชื้อที่มีอยู่ในอากาศระหว่างที่เดินทางทางอากาศอยู่ ในสหรัฐอเมริกามีการใช้สินค้าที่เรียกว่า SurvaceWise2 จากบริษัท Dallas Based Allied Bioscience ซึ่งเป็นการพ่นสเปรย์ที่ช่วยให้ไวรัส COVID-19 ไม่แข็งแรงหรือไม่ทำงานอย่างน้อย 7 วัน

สารนี้มีการใช้ใน American Airlines และสายการบินอื่นตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคมเฉพาะที่รัฐเท็กซัส โดยทางบริษัทการบินจะมีระบบการทำความสะอาด ทั้งเมื่อขณะที่กำลังบินอยู่และระหว่างที่เครื่องบินจอดข้ามคืน รวมถึงการใช้ยาฆ่าเชื้อโรคแบบสเปรย์เพียงอาทิตย์ละคร้ัง แต่อย่างไรก็ตามการใช้สเปรย์ไม่ได้ทดแทนการทำความสะอาดตามปกติ นอกจากนี้ยังมีการพยายามใช้สารที่เป็น electrostatically ในการพ่นบนเครื่องทั่วทั้งลำ เพื่อช่วยในการฆ่าเชื้อในโรงพยาบาล โรงเรียนและเครื่องบิน และจะมีการใช้ในรัฐอื่นในไม่ช้า โดยมีการประมาณว่าผู้โดยสารจะต้องใส่หน้ากาก และจะต้องมีการกรองอากาศ หรือใส่อากาศใหม่เข้าสู่ระบบภายในห้องผู้โดยสารทุก 2 - 3 นาที และยังจะต้องมีระยะห่างระหว่างกัน

นอกจากนี้ทางสนามบินจะมีระบบตรวจสอบ และขนกระเป๋าด้วยตนเอง รวมถึงเรื่องการใช้ห้องน้ำแบบระบบที่ไม่มีการสัมผัส โดยเริ่มใช้เมื่อสิ้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยเป็นผลงานของ Infax Inc. ซึ่งมีทั้งระบบการให้สบู่ การกดน้ำในชักโครกเอง รวมถึงระบบกระดาษชำระ ที่จะมี Sensors แจ้งมายังเจ้าหน้าที่เมื่อกระดาษน้อยลง นอกจากนี้ในปีที่แล้วที่สนามบิน DFW ยังมีการใช้ระบบ Biometric boarding ด้วยการใช้หน้าของผู้เดินทางเป็นบัตรเดินทางด้วยการใช้ VeriScan technology และยังสามารถใช้ได้ทั้งกับการตรวจคนเข้าเมืองในการบินเข้าจากต่างประเทศ โดยจะหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ The Rise of Smart Airports: A Skift Deep Drive

และยังมีการใช้แสงเหนือม่วง (Ultraviolet) ในการฆ่าเชื้อโรคก่อนที่อากาศจะถูกนำเข้ามาสู่ระบบหมุนเวียนอากาศที่เรียกว่า HVAC(HeatingVentilationAirConditioning) system และยังมีการใช้เครื่องพ่นหมอกระบบ electrostatic พ่นในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการสัมผัสสูง รวมถึงมีการตรวจวัดอุณหภูมิของลูกจ้างและผู้โดยสารโดยไม่ต้องมีการสัมผัส โดยคาดว่าในอนาคตผู้โดยสารจำนวนน้อยเท่านั้นที่จะใช้เวลาในการทานอาหารในสนามบิน หรือแม้แต่ซื้อสินค้าในสนามบิน

แนวทางเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนของการจัดการเกี่ยวกับการเดินทางโดยรถโดยสาร หรือเครื่องบินสาธารณะ ซึ่งอาจจะเป็นทิศทางที่ประเทศไทยอาจจะต้องมีการเตรียมการเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะเป็น new normal ใหม่ของเราถ้าเรายังควบคุมโรคระบาดยังไม่ได้ โดยไม่ลืมถึงความปลอดภัยอื่น ๆ และความสะดวกสบายบางสิ่งที่อาจจะต้องเปลี่ยนไป

ข้อมูลจาก : นพ.ธิติวัฒน์ ประชาธำรงพิวัฒน์

(https://minsenconcept.com/ความปลอดภัยในการบินหลั/)

Cover designed by Freepik

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *