การสร้างภูมิคุ้มกันกับฤดูฝน

อุณหภูมิที่ลดลงในช่วงฝนตก เป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเราอ่อนแอลง และมีการแพร่ระบาดของโรคได้ง่าย โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ แต่การที่มีการรณรงค์ให้ฉีดวัคซีน และการมีเว้นระยะห่าง รวมทั้งการใส่หน้ากากอนามัย ก็ช่วยลดความเสี่ยงของโรคได้ระดับหนึ่ง

การสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายก็เป็นอีกประเด็นที่ช่วยเสริม และลดการเกิดโรคภัย เช่น

  • การออกกำลังกายแบบ Cardio เช่น การเดินเร็ว กระตุ้นปอดและหัวใจให้แข็งแรง
  • การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • การให้ร่างกายอบอุ่น
  • การดื่มน้ำ และรับประทานอาหารสุก สะอาด กินร้อน ช้อนเรา
  • อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท ปลอดโปร่ง
  • ล้างมือ และฟอกสบู่ให้สะอาด

อาหารเพิ่มภูมิคุ้มกัน

  • ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ มี Betaglucan ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบภูมิคุ้มกัน ต่อต้านแบคทีเรีย และลดความเสี่ยงติดเชื้อไวรัส

สัตว์ที่ทานข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ มีความป่วยโรคหวัด และเริมลดลง ในคนพบว่าบาดแผลหายเร็วขึ้น ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โดยรับประทานข้าวโอ๊ตชนิดสุกเร็วแทนข้าวต้ม หรือรับประทานกับเครื่องดื่มอุ่น ๆ เช่น น้ำเต้าหู้

  • โยเกิร์ต มีสารประกอบของจุลินทรีย์ probiotic เช่น bulgaricus, L.casei, L.acidophillus ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายโดยตรง ป้องกันจุลินทรีย์ก่อโรค และที่ฉวยโอกาสในทางเดินอาหาร

จุลินทรีย์ก่อโรคทำให้เกิดท้องเสีย ติดเชื้อในทางเดินอาหาร และพวกฉวยโอกาสจะซ้ำเติมให้ร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วย มีอาการรุนแรง ฟื้นตัวช้า

ควรทานประจำวันละ 1-2 ถ้วย ใช้สูตรไขมันต่ำ รสธรรมชาติ เพื่อลดน้ำตาล และไขมันอิ่มตัวส่วนเกิน

  • ฝรั่ง ส้ม กีวี รวมทั้งผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ตามภูมิแพ้ และโรคในทางเดินหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิตามินซี ปริมาณสูงในผลไม้ ช่วยยับยั้งการหลั่งของ histamine ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดอาการแพ้ และยังทำลายโครงสร้างของสารนี้ ทำให้ histamine ในเลือดลดลง อาการก็จะลดลงด้วย

ควรทานผลไม้เหล่านี้ทันทีหลังล้าง สำหรับผักควรล้างก่อนหั่น และกินสดหรือปรุงด้วยความร้อนต่ำ เพื่อสงวนคุณ ค่าของวิตามินซี ไม่ให้ละลายไปกับน้ำ และสูญเสียไปจากอากาศและความร้อน

  • ยอดมะม่วงหิมพานต์ มีสาร polyphenol สูง และยังพบมากในใบมันปู ใบส้มแป้น กะหล่ำปลีม่วง ผักกระเฉด มีฤทธิต้านอนุมูลอิสระสูง เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  • พริกหวานสีแดง แครอต มีสาร Cartotenoid พบมากในผักชีล้อม ตำลึง ฟักทอง หรือสารประกอบ Sulfur พบในพืชที่มีกลิ่นแรง เช่น หัวหอม หัวผักกาด

การทานผักและผลไม้สดหลากหลาย ช่วยให้ร่างการรับสารต้านอนุมูลอิสระ การคั้นน้ำเอนไซม์ โดยสับหรือตำผัก ผลไม้ครั้งละชนิดกรองด้วยผ้าขาวบาง หรือเครื่องแยกกาก แล้วดื่มไม่ควรตั้งทิ้งไว้นานเกิน 30 นาที

  • กระเทียมสด มีสาร Allicin ช่วยต้านแบคทีเรีย และลดการติดเชื้อ กระเทียมสด 1 กลีบ มีสาร allicin 5-9 mg

ผู้ใหญ่ที่ได้สารสกัด Allicin 180mg ต่อวัน มีอัตราการเป็นหวัดน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ 64% และฟื้นไข้ได้เร็วกว่า การรับประทานกระเทียมวันละ 6 กลีบ ยังลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ มะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ 30% ลดมะเร็งกระเพาะอาหารได้ 50 %

การบด และสับทำให้กระเทียมหลั่งสาร Allinase ช่วยกระตุ้นการสร้างสาร Allicin มากขึ้น และควรทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องอีก 10 นาที การผัดกระเทียมด้วยความร้อนต่ำ หรือปรุงอาหารในยำจะดี

การลดกลิ่นกระเทียมในปาก ด้วยการเคี้ยวเมล็ดผักชี ใบฝรั่ง มะนาวฝานชิ้นเล็ก ๆ จิ้มเกลือ แปรงฟันให้สะอาด

เทคนิคเพิ่มภูมิคุ้มกัน

  • โดนแสงแดด สร้างวิตามินดี วิตามินนี้ช่วยลดความเสี่ยงโรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร ด้วยการเพิ่มเปปไทด์ต้านจุลชีพ และลดความเสี่ยงโรคหืดรุนแรง

วิตามินดีจากแสงแดด และอาหารนั้นปลอดภัยกว่าวิตามินดีในรูปแบบเม็ด การทานแบบเม็ดมากเกินทำให้กระหายน้ำ เบื่ออาหาร ปวดกระดูก เหนื่อยง่าย เจ็บตา คลื่นไส้

ซึ่งอาหารที่มีวิตามินดีสูง เช่น ปลาที่มีไขมันสูง ปลาทู ซาร์ดีน ไข่ กุ้ง เห็ด นม ฯ และได้รับแสงแดดช่วงเช้า 30 นาที

  • ลดความเครียด ซึ่งทำให้หลั่งฮอร์โมนที่กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย การนอนให้เพียงพอ คืออย่างน้อย 7 ชั่วโมงต่อคืน และควรมีการนอนที่มีคุณภาพ คือไม่ตื่นกลางดึก มีการนอนระดับหลับลึก ไม่น้อยกว่า 2ชั่วโมง
  • การดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน น้ำจะช่วยเพิ่มสารคัดหลั่ง และความชุ่มชื้นของเยื่อบุผิวในท่อทางเดินหายใจส่วนบน ช่วยดักจับฝุ่น และเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย

ข้อมูลจาก : นพ.ธิติวัฒน์ ประชาธำรงพิวัฒน์

(https://minsenconcept.com/การสร้างภูมิคุ้มกันกับ/)

Cover designed by Freepik

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *