ตามทันโควิด-19 ตุลาคม 2563

การรักษา COVID มีการใช้ยา Favipiravir ซึ่งเคยเป็นยารักษาไข้หวัดใหญ่ ไข้เหลือง และโรคปากเท้าเปื่อย ได้รับความสนใจอย่างมากในการนำมารักษา COVID ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพราะมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ RNA Polymerase ที่ช่วยลดการเพิ่มจำนวนไวรัส และเป็นยาที่รับประทานได้ค่อนข้างปลอดภัยเมื่อทานในปริมาณค่อนข้างสูง ในอินเดีย อยู่ในระหว่างทดลอง และได้รับการอนุมัติจาก DCGI ให้วางจำหน่ายในนาม Ciplenza ในราคาประมาณ 31.63 บาทต่อเม็ด สำหรับในประเทศไทยมีการใช้อยู่ โดยองค์การเภสัชกรรมเตรียมพัฒนาสูตรตำรับ และขยายขนาดการผลิต คาดว่าใช้เวลา 1 ปี พร้อมยื่นขึ้นทะเบียน แต่ FDA สหรัฐยังไม่ยอมรับ

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมามีข่าวช็อก ที่สะเทือนอเมริกาและโลก คือการพบเชื้อโคโรน่าไวรัสในประธานาธิบดี และสตรีหมายเลข 1 รวมถึงทีมที่ปรึกษาของทรัมป์อีกหลายคน ทรัมป์ถูกนำตัวไปรักษาที่ Water Reed โดยยาที่เขาได้รับ คือ Remdesivir เป็นยาต้านไวรัสฉีดเข้าเส้นเลือด ของบริษัท กิเลียด ไซเอินเซส โดยมีการกำหนดว่าจะให้ 5 วัน ยาฉีดค๊อกเทล REGN-COV2 เป็นสารภูมิต้านทานของ บริษัท รีเจเนรอน ซึ่งผลิตจากคนไข้ที่ฟื้นจาก COVID แล้ว และอีกส่วนผลิตจากหนูที่ได้รับภูมิคุ้มกันของมนุษย์ (ยานี้ยังไม่ได้รับการยอมรับจาก FDA สหรัฐ) มีการให้ steroid ซึ่ง steroid จะให้เฉพาะคนไข้ที่มีอาการหนัก นอกจากนี้อาจจะมี ซิงค์ วิตามินดี ฟาโซทิดีน เมลาโทนิน และแอสไพริน

กลุ่มยาที่ยังไม่ค่อยได้ผล ได้แก่ Chloroquine/Hydroxychloroquine เป็นยารักษามาเลเรีย และLopinavir/Ritonavir ซึ่งเป็นยาต้าน HIV การระบาดระรอกใหม่ในซีกโลกทางเหนือ และจะเบาลงในซีกโลกด้านใต้ จากการที่จะเข้าสู่ฤดูหนาวในซีกโลกเหนือ รวมถึงการควบคุมโรคในส่วนนี้ยังไม่ค่อยได้ผลนัก ทั้งในสหรัฐอเมริกา อินเดีย อิตาลี รัสเซีย ฝรั่งเศส ฯ ทำให้การระบาดในระลอกใหม่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในฤดูหนาวที่จะมาถึงนี้

  • 11 ตุลาคมมีการรายงานการติดเชื้อกว่า 1 ล้านรายภายใน 3 วัน ซึ่งเป็นยอดติดเชื้อที่สูงมาก ทั้งในยุโรปและในอเมริกา รวมถึงไม่สามารถระงับการติดเชื้อในสหรัฐอเมริกา อินเดีย และบราซิล นั่นทำให้มีการพยากรณ์ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของยุโรปจะยังไม่ฟื้นจนกว่าปี 2022 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า รวมทั้งอินเดียมียอดติดเชื้อกว่า 7 ล้านคน
  • 22 ตุลาคม กลุ่มประเทศ อาร์เจนตินา บราซิล สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อินเดีย รัสเซีย และสหรัฐ พบว่าในช่วง 7 วัน มียอดการติดเชื้อใหม่อย่างน้อย 100,000 ราย ซึ่งจะทำให้ยอดผู้ติดเชื้อรวมทั่วโลกสูงกว่า 40.7 ล้านราย

การติดตามเรื่องวัคซีน

  • เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ที่ Charlottesville, Virginia มีการค้นพบความหวังใหม่ในการป้องกัน COVID-19 ด้วย antibody cocktail trial ซึ่งดูเหมือนจะได้ผล โดยให้คนอยู่กับคนที่ป่วยเป็น COVID ไม่น้อยกว่า 1 เดือน คนกลุ่มนี้จะได้รับ antibody ซึ่งจะได้ผลค่อนข้างดี และปลอดภัย แต่การศึกษานี้ยังต้องการข้อมูลขนาดใหญ่เพิ่มเติม
  • 12 ตุลาคม วัคซีนของ Johnson & Johnson ต้องหยุดทดลองชั่วคราว หลังจากมีการเจ็บป่วยที่ไม่สามารถหาสาเหตุ หรืออธิบายได้ในผู้ที่ได้รับวัคซีน และมีรายงานว่าสหราชอาณาจักรกับรัฐบาลไทยตกลงที่จะร่วมผลิตวัคซีนของ AstraZeneca ร่วมกันเพื่อช่วยขยายวัคซีนให้กับกลุ่ม ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งวัคซีนนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัย Oxford โดยคาดว่าจะเริ่มผลิตวัคซีนชุดแรกกลางปีหน้า
  • 13 ตุลาคม บริษัท Eli Lilly ได้มีการแจ้งว่าการทดลองทางคลินิกเกี่ยวกับ antibody therapy ที่ทางรัฐบาลสหรัฐให้การสนับสนุนนั้นต้องหยดชั่วคราว ด้วยปัญหาเรื่องความปลอดภัย ซึ่งเป็นผลมาจาก Johnson & Johnson แต่ทางบริษัท Pfizer กล่าวว่าจะมีการทดลองใช้วัคซีนจำนวนมากในกรณีฉุกเฉิน ปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ และ ดร. Anthony Fauci ยังกล่าวถึงการรักษาที่ดี จะเป็นตัวเชื่อมถึงวัคซีนในการป้องกันการทดสอบวัคซีนในจีน ในเมืองชิงเต่า มีการทดลองวัคซีนไปแล้วกว่า 10 ล้านราย ส่วนการทดลองในปักกิ่งก็ใกล้จะเสร็จสิ้นการทดลอง

 

ข้อมูลจาก : นพ.ธิติวัฒน์ ประชาธำรงพิวัฒน์

(https://minsenconcept.com/ตามทัน-covid-เดือนตุลาคม-2563/)

Cover designed by Freepik